ไขข้อข้องใจแบบเข้าใจง่าย 29 กุมภาพันธ์ ทำไม 4 ปีถึงมีครั้ง

ไขข้อข้องใจแบบเข้าใจง่าย 29 กุมภาพันธ์ ทำไม 4 ปีถึงมีครั้ง
Share it:
ไขข้อข้องใจแบบเข้าใจง่าย 29 กุมภาพันธ์ ทำไม 4 ปีถึงมีครั้ง
เคยสงสัยกันใหม่ว่าทำไม่ เดือนกุมภาพันธ์ ต้องรอถึง 4 ปี จึงจะมีให้เห็นสักครั้ง แล้วทำไมมันถึงไม่สลับปี เหมื่อนเดือนที่มี 30 และ 31 วัน ที่สลับกัน แต่เดือนกุมภาพันธ์ที่มี 29 วัน ต้องรอถึง 4 ปี ซึ่งเป็นเดือนที่พิเศษไม่เหมื่อนใคร ที่มีแค่ 28 วัน จนพอเริ่มจะเคยชินกับเดือนสั้น ๆ บางปีก็มีวันที่ 29 โผล่มาให้สับสนอีก ถ้าอย่างนั้นเรามาไขข้อข้องใจแบบภาษาที่เข้าใจง่ายไม่เน้นวิชาการ

กำเนิดเดือนกุมภาพันธ์ เริ่มแรกมี 29 สลับกับ 30 วัน
          เท้าความกลับไปตั้งแต่สมัย จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาลนู้น ซีซาร์เป็นคนแรกที่ริเริ่มให้ใช้ "ปฏิทินจูเลียน" (Julian calendar) ซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนจำนวนเดือนเสียใหม่ โดยก่อนหน้านั้นชาวโรมันใช้ "ปฏิทินโรมัน" กันมา ซึ่ง 1 ปีปฏิทินมี 10 เดือน (304 วัน) คือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบแล้วก็คือ มีนาคม-ธันวาคม ของปัจจุบันนั่นเอง และในบางปีจะมีการทดเดือนพิเศษเข้ามาเพื่อให้มีวันใกล้เคียงตามสุริยคติ 

          แต่ซีซาร์เห็นว่าปฏิทินแบบเดิมซึ่งนับเดือนตามข้างขึ้นข้างแรมนั้นมีความไม่เหมาะสม จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน คือ January และ Febuary (มกราคมและกุมภาพันธ์) ให้แต่ละเดือนมีจำนวนวัน 30 และ 31 วันคละกันไป ยกเว้นเสียแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ให้มี 29 วัน แต่ก็ยกเว้นในปีอธิกสุรทิน (ปีที่ปฏิทินมี 366 วัน) ก็จะให้เดือนกุมภาพันธ์มี 30 วันได้ นอกจากนี้ซีซาร์ยังได้เปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis ซึ่งเป็นเดือนเกิดของตนเป็น July ตามชื่อตัวเองด้วย

e161
ปฏิทินจูเลียน ภาพจาก science
  • จุดเปลี่ยนเดือนกุมภาพันธ์ เหลือ 28 สลับกับ 29 วัน
          หลังจากที่ จูเลียส ซีซาร์ ได้กำหนดให้หนึ่งปีมี 12 เดือน พร้อมกับเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 29 และ 30 วัน สลับกันไปนั้น ปฏิทินจูเลียนก็ถูกใช้สืบต่อเรื่อยมา จนถึงยุคของ ออกัสตุส ซีซาร์ ลูกบุญธรรมของ จูเลียส ซีซาร์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปฏิทินจูเลียนก็มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกคราว
          พระเจ้าออกัสตุสนั้นอยากมีเดือนเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเองเช่นบิดาบ้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเดือน Sextilis ซึ่งเป็นเดือนเกิดของตนเป็นชื่อ August เท่านั้นยังไม่พอ ทรงเห็นว่าเดือนนี้มีเพียง 30 วัน ซึ่งการมีจำนวนวันเป็นเลขคู่นั้นถือเป็นเดือนโชคร้าย จึงไปดึงวันจากเดือนเกิดใหม่อย่างกุมภาพันธ์มาใส่ ทำให้เดือนสิงหาคมมี 31 วัน และเดือนกุมภาพันธ์เหลืออยู่ 28 วัน และก็กลายเป็น 29 วันในปีอธิกสุรทินอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันไปนั่นเอง
  • 29 กุมภาพันธ์ ทำไม 4 ปีถึงมีแค่ครั้งเดียว ?
          เหตุผลที่เดือนกุมภาพันธ์เดี๋ยวมี 28 วันบ้าง 29 วันบ้าง แถมต้องรอตั้ง 4 ปี ถึงจะได้มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ สักครั้ง นั่นก็เป็นเพราะปฏิทินจูเลียนได้อ้างอิงการนับวันตามระบบสุริยคติหรือดูจากตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก และก่อนคำนวณปฏิทินนี้ขึ้น ชาวโรมันผู้ซึ่งเป็นคนพวกแรกที่คำนวณปฏิทินขึ้นมาใช้อย่างเป็นระบบว่า ได้พบว่าโลกใช้เวลาทั้งหมด 365.25 วัน (นับเป็น 1 ปี) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 

          แต่ครั้นจะให้ปฏิทินรอบ 1 ปี มี 365 กับเศษอีก 0.25 วัน ก็กระไรอยู่ จึงได้แก้ปัญหาว่าให้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันไปเรื่อย ๆ จนครบ 4 ครั้งเมื่อไร ก็เท่ากับว่าได้เวลา 0.25 วันเพิ่มขึ้นมาสี่รอบกลายเป็น 1 วันเต็มพอดี และก็ให้เดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้นมี 29 วันไปนั่นเอง นี่ล่ะเหตุผลว่าทำไมต้องรอถึง 4 ปี ถึงจะได้เห็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ สักทีหนึ่ง

e162
การปรับวันในปฏิทินเกรโกเรียน ภาพจาก biblelight


          แต่ยังไม่จบแค่นั้น !! ปฏิทินจูเลียนเองก็ยังถูกพบในเวลาต่อมาว่ามีจุดบกพร่องอยู่อีกเล็กน้อย โดยในคริสตศักราช 1582 นายแพทย์คนหนึ่งพบว่าที่จริงแล้วโลกใช้เวลาหมุนรอบดวงอาทิตย์ 365.2425 วันต่างหาก ซึ่งช้ากว่า 365.25 ของจูเลียสอยู่เล็กน้อย อันจะทำให้หากใช้ปฏิทินจูเลียนไปครบ 134 ปี จะทำให้มีวันงอกเกินออกมา 1 วัน จึงได้เสนอการปฏิรูปปฏิทินขึ้นใหม่เรียกว่า "ปฏิทินเกรโกเรียน" และได้พระสันตปาปาเกรโกรีที่ 13 เป็นผู้ประกาศใช้ในปีเดียวกันนั้นเอง

          ปฏิทินเกรโกเรียนให้การปรับปรุงปฏิทินนี้มีผลย้อนหลัง โดยจำนวนวันหายไปสิบวัน ปีล่าสุดที่ถูกปรับคือ  ค.ศ. 1900 และหลังจากนั้นมายังไม่มีการปรับอีกเลย กล่าวคือปฏิทินจูเลียนและเกรโกเรียนในปัจจุบันเดินตรงกันแล้ว

          ส่วนอีกร้อยกว่าปีข้างหน้าจะมีการปรับวันอีกอย่างไรก็ต้องว่ากันอีกที แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่และอีกนานประเทศทั่วโลกได้ยึดใช้ปฏิทินเกรโกเรียนเป็นปฏิทินสากลแล้ว รวมทั้งประเทศไทยด้วย 
  • จะรู้ได้อย่างไรว่าปีไหนเดือนกุมภาพันธ์จะมี 28 หรือ 29 วัน ?
          หลักการคำนวณง่าย ๆ ว่าปีไหนเดือนกุมภาพันธ์จะมี 28 หรือ 29 วัน ให้ใช้ตัวเลขปีคริสตศักราชตั้ง แล้วหารด้วย 4 หากหารลงตัวก็แสดงว่าปีนั้นเป็นอธิกสุรทิน มี 366 วัน ในปีนั้นก็จะได้เห็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ โผล่ขึ้นมา
          ยกตัวอย่างเช่น ปี ค.ศ. 2008 นำ 2008÷4 = 502 ลงตัวพอดีไม่เหลือเศษ แสดงว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2008 มี 29 วัน
  • แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นชวนปวดหัวอยู่อีก 2 ประการ คือ
          1. หากปีนั้น หารด้วยเลข 4 และ 100 ลงตัว ไม่ต้องเพิ่มวันที่ 29 (มีแค่ 28 วัน) แต่..
          2. หากปีนั้น หารด้วยเลข 4 และ 100 และก็ยังหารด้วย 400 ลงตัวด้วย ให้กลับไปใช้หลักการเดิมคือเติมเพิ่มลงไปหนึ่งวัน เป็น 29 วัน
kapook
Share it:

สกู็ปไลฟ์สไตล์

Post A Comment:

0 comments: