ที่ผ่านมา เราอาจผ่านหูผ่านตากับคำว่า “ประชานิยม” คำเรียกขานนโยบายขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาล “ปู” อันเป็นโลโก้ติดหัวพรรคเพื่อไทย แต่วินาทีนี้กลับมีวาทกรรมคำใหม่ที่ว่า “ประชารัฐ” ของรัฐบาล “บิ๊กตู่” ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ รัฐต้องร่วมมือกับประชาชน...จนเกิดข้อสงสัยคาใจจากหลายฟากฝ่ายว่า “ประชารัฐ” ลอกเลียน “ประชานิยม” หรืออันที่จริงแล้ว “ประชารัฐ” นั้นแปลงร่างมาจาก “ประชานิยม” หรือไม่?
แม้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะว่า นโยบารัฐบาลประยุทธ์ไม่ใช่ประชานิยม แต่กระนั้นก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า รัฐบาลประยุทธ์ไม่จำเป็นต้อง้อเียงขานรับจากประชาชน เพราะบางนโยบายของรัฐบาลบิ๊กตู่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่ได้มาในรูปแบบของคะแนนเสียง แต่มาในลักษณะของความนิยมชมชอบจากประชาชน อันเป็นสิ่งที่รัฐบาลประยุทธ์ให้ความสำคัญไม่แพ้สิ่งใด...
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จับเทียบนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลประยุทธ์ ชนด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะเป็นประชานิยม “ตู่” โคลนนิ่ง “ปู” หรือไม่ ต้องดู!
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุค คสช. |
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี |
รถคันแรก รัฐบาลยิ่งลักษณ์ : ยุคทองแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มาตรการคืนภาษีสรรพสามิตรถยนต์คันแรกวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยรถยนต์ที่ซื้อต้องมีราคาขายปลีกไม่เกินคันละ 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ซีซี รถยนต์กระบะหรือปิกอัพและรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุกหรือดับเบิลแค็บ และจะต้องเป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ
จากเดิมที่คาดว่า จะมีผู้มาใช้สิทธิ์รถคันแรก 5 แสนคัน แต่ปรากฏว่ามีผู้ขอเข้าร่วมโครงการนี้กันอย่างถล่มทลายเกินความคาดหมาย โดยเฉพาะรถรุ่นประหยัด หรืออีโค คาร์ จนทำให้บริษัทรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน และอะไหล่ยานยนต์มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ พร้อมดึงธุรกิจกลุ่มบริษัทประกันวินาศภัย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ในขณะที่ ถนนยังมีเท่าเดิม เพิ่มเติมคือรถมากขึ้น จึงทำให้การจราจรในกรุงเทพฯติดขัดเป็นบ้าเป็นหลัง และผลกระทบสำคัญที่ตามมาก็คือ เจ้าของรถใหม่ป้ายแดงทั้งหลายผ่อนไม่ไหว และหากถูกยึดจะโดน 2 เด้งคือ 1.ใช้หนี้ไฟแนนซ์ให้ครบ 2.เอาเงินคืนรัฐ เพราะถือว่าทำผิดกติกา
ดังนั้น โครงการรถคันแรก จึงสร้างภาระหนี้ให้แก่ภาคประชาชน และเขย่าเศรษฐกิจภาพรวมประเทศอย่างหนัก เพราะควันหลงจากโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาลปูนั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ตลาดรถยนต์เมืองไทยล้นสต๊อก ทั้งรถเก่ารถใหม่จอดนิ่งคาเต็นท์ การผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ติดลบอย่างหนัก ชะลอตัวต่อเนื่องหลายไตรมาส และสูญเงินงบประมาณเกือบแสนล้าน
รถคันแรกวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องมีราคาขายปลีกไม่เกินคันละ 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ซีซี |
บ้านหลังแรก รัฐบาลประยุทธ์ : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยกู้ เพื่อผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางที่เคยถูกปฏิเสธคำขอการกู้เงินจากธนาคารอื่น ให้สามารถกู้เงินจาก ธอส.ได้ แต่เงื่อนไขคือ ต้องเป็นการซื้อครั้งแรก และเพื่ออยู่อาศัยจริง โดยมีวงเงินขั้นต้น 10,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถเพิ่มเติมได้อีก พร้อมลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินและราคาจำนอง แต่ไม่เกิน 2 แสนบาทเป็นเวลา 6 เดือน
สำหรับอัตราดอกเบี้ยปีแรกคิดร้อยละ 3.50 ต่อปี ปีที่ 2 ร้อยละ 4.25 และปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ ลบร้อยละ 1 และกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป คิดเอ็มอาร์อาร์ลบร้อยละ 0.75 ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ อยู่ที่ร้อยละ 6.75 ผู้ที่ขอกู้เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจะต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะสามารถรีไฟแนนซ์ได้ ส่วนกู้เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 30 ปี โดยให้ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมได้ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558
“แม้จะกระทบกับการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการลดค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ที่อาจทำให้รายได้ของรัฐหายไปราว 15,000 ล้านบาท แต่ถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็ว เงินจากภาษีประเภทอื่นๆ จะเข้ามาทดแทน” นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ กล่าวถึงสิ่งที่หลายฝ่ายกังวล
จับเทียบ 2 รัฐบาล แผนช่วยเหลือเกษตรกรรายได้น้อย
จำนำข้าว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ : นโยบายจำนำข้าวขาวทุกเม็ด ที่ราคา 15,000 บาทต่อตัน และ 20,000 บาทต่อตันสำหรับข้าวหอมมะลิ นโยบายประชานิยมอันเป็นที่โจษจันในสังคมไทยว่า จำนำข้าวคือ หายนะการคลังของประเทศอย่างแท้จริง
เหตุเพราะโครงการรับจำนำข้าว เอื้อต่อการทุจริตในทุกขั้นตอน บิดเบือนกลไกตลาดอย่างร้ายแรง มิหนำซ้ำยังทำลายความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมของข้าวไทยให้อ่อนแอลง อีกทั้ง รัฐยังต้องรับภาระในการสต๊อกข้าวและรักษาคุณภาพข้าวจำนวนมาก จนนำมาสู่ความสูญเสียด้านการคลังของชาติอย่างมหาศาล
นโยบายจำนำข้าวขาวทุกเม็ด ที่ราคา 15,000 บาทต่อตัน และ 20,000 บาทต่อตันสำหรับข้าวหอมมะลิ |
การปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือก พบว่า มียอดขาดทุนจากโครงการดังกล่าวถึง 700,000 ล้านบาท |
รัฐบาลรับภาระในการสต๊อกข้าวและรักษาคุณภาพข้าวจำนวนมาก จนนำมาสู่ความสูญเสียการคลังของชาติอย่างมหาศาล |
โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ดำเนินการติดตามประเมินผลมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยปีการผลิต 2557/58 มาตรการชดเชยรายได้ให้เกษตรกรผู้ผลิตข้าวไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดรายละ 15,000 บาท พบว่า เกษตรกร 55% พอใจมาก, 36% พอใจปานกลาง และ 9% พอใจน้อย เนื่องจากเงินที่ชดเชยมีจำนวนน้อยเกินไป
รัฐบาลบิ๊กตู่ เข้ามาจัดการภาระหนี้ที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว โดยให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนา |
กองทุนหมู่บ้าน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ : นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ต้องการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน โดยเพิ่มทุนให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท
โดยนักวิชาการหลากฟากฝ่าย ออกมาแสดงความกังวลในมาตรการดังกล่าวว่า อาจนำมาสู่พฤติกรรมการก่อนหนี้ซ้ำซ้อนต่อเนื่อง และผู้กู้นำเงินทุนไปลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์จริงๆหรือ เพราะที่ผ่านมา กองทุนหมู่บ้าน ถูกนำไปใช้ซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือยที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น รถจักรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น จึงทำให้เป็นภาระต่องบประมาณของภาครัฐ และเป็นสร้างหนี้สินครัวเรือนให้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาความยากจนนั้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องแก้จากหลายมิติ และไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ต้องการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า |
กองทุนหมู่บ้าน รัฐบาลประยุทธ์ : รัฐบาลทหารหาญเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านวงเงิน 60,000 ล้านบาท โดยแหล่งเงินมาจากธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คิดอัตราดอกเบี้ย 0% เป็นระยะเวลา 2 ปี จากระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 7 ปี โดยคาดว่าจะปล่อยกู้ได้ครบวงเงิน 60,000 ล้านบาท ภายในเดือนพฤศจิกายน 2558 นี้
รัฐบาลบิ๊กตู่ อัดฉีดเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านวงเงิน 60,000 ล้านบาท โดยแหล่งเงินมาจากธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. คิดอัตราดอกเบี้ย 0% เป็นระยะเวลา 2 ปี |
ปัจจุบัน มีกองทุนหมู่บ้านฯ ทั้งหมด 79,000 กองทุน |
โดยให้ธนาคารออมสินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับผิดชอบวงเงินธนาคารละ 30,000 ล้านบาท ปล่อยกู้แก่กองทุนหมู่บ้านฯ ที่ได้รับการจัดชั้นเป็นกองทุนระดับ A และ B หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โดยใน 2 ปีแรก เป็นระยะปลอดดอกเบี้ย
ท้ายที่สุดแล้ว “ประชานิยม” หรือ “ประชารัฐ” ไม่ว่าจะใช้วาทกรรมใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักอย่างยิ่งยวดคือ ภาระของประเทศชาติในระยะยาว...
Post A Comment:
0 comments: