แชร์กันทั่วโลก! โทรศัพท์มือถือชาร์จด้วยไมโครเวฟ 1 วินาที ได้แบตเพิ่ม 70% สาวไทยลองทำปรากฎเจ๊งบ๊ง

แชร์กันทั่วโลก! โทรศัพท์มือถือชาร์จด้วยไมโครเวฟ 1 วินาที ได้แบตเพิ่ม 70% สาวไทยลองทำปรากฎเจ๊งบ๊ง
Share it:
แชร์กันทั่วโลก! โทรศัพท์มือถือชาร์จด้วยไมโครเวฟ 1 วินาที ได้แบตเพิ่ม 70% สาวไทยลองทำปรากฎเจ๊งบ๊ง
สังคมออนไลน์แห่แชร์คลิปวิดีโอจากผู้ใช้งานยูทูบ ‘SoFlo’ ขณะนำโทรศัพท์มือถือไอโฟน ที่มีแบตเตอรี่อยู่ 7 เปอร์เซนต์เข้าตู้อบไมโครเวฟ พร้อมกดอุ่น 1 วินาที โดยอ้างว่าวิธีการดังกล่าวจะทำให้มีปริมาณแบตเตอรี่ เพิ่มขึ้น ซึ่งในคลิปที่ปรากฎพบว่าหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ โทรศัพท์เครื่องดังกล่าวมีแบตเตอรี่สูงขึ้นถึง 77%

[youtube src="o3TfFEB7LDE"][/youtube]

ซึ่งชาวเน็ตต่างตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นคลิปตัดต่อ โดยผู้ถ่ายคลิปอาจนำไปชาร์จ และถ่ายทำวิดีโอเป็น 2 ช่วง ก่อนนำมาร้อยต่อกันอย่างแนบเนียน หรืออีกข้อสังเกตคืออาจมีการสลับเปลี่ยนเครื่องในช่วงซูมเข้าที่ปุ่มกดไมโครเวฟ

แต่ล่าสุด มีสมาชิกพันทิปรายหนึ่งอ้างว่า หลังจากเห็นคลิปดังกล่าว ได้หลงเชื่อและลองทำตามผล โดยการนำ iPhone5sใส่ไมโครเวฟประมาณ 3 วินาที ปรากฎว่าโทรศัพท์พัง โดยชาวเน็ตต่างแสดงความเห็นอกเห็นใจเป็นจำนวนมาก พร้อมแนะนำว่าครั้งหน้าอย่าหลงเชื่อ (อ่านกระทู้)

สาวไทยหลงเชื่อคลิปที่ถูกแชร์กัน ทดลองทำตาม ปรากฎ iPhone5s กลายเป็นที่ทับกระดาษ
โดยก่อนหน้าในปี 2014 ช่วงที่แอปเปิลมีการออกอัพเดท iOS8 ได้มีภาพแชร์กันว่อนเน็ตว่าบนระบบปฏิบัติการใหม่ จะสามารถชาร์จแบตได้ด้วยไมโครเวฟด้วยระยะเวลา 1 นาที

 ภาพปลอมที่ถูกแชร์กันอ้างว่า iOS8 รองรับการชาร์จด้วยไมโครเวฟ
จากเรื่องดังกล่าวทำให้สื่อต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ต้องออกโรงเตือนกันว่าภาพดังกล่าวไม่เป็นความจริง หลังผู้ใช้งานบางรายหลงเชื่อทดสอบถึงขั้นโทรศัพท์มือถือระเบิดไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป


[youtube src="Yn2pzfY79WM"][/youtube]

ด้าน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ นักวิชาการและอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยกับ สายตรวจโซเชียล ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ปกติแล้วคลื่นไมโครเวฟ จะทำให้โมเลกุลของสารเกิดการสั่นสะเทือนและเกิดความร้อน ไม่สามารถใช้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งแบตเตอรี่ของโทรศัพท์จะต้องได้รับพลังงานประจุไฟฟ้าอิเล็กตรอน อีกทั้งในตัวโทรศัพท์มือถือยังมีสารประกอบอื่นๆ อีก เช่นโลหะ พลาสติก ซึ่งไม่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ หากเลวร้ายอาจถึงขั้นระเบิด ดังนั้นอย่าหลงเชื่อทดลองทำตามคลิปวิดีโอดังกล่าว

ขณะที่ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับทีมข่าวว่าคลิปดังกล่าวเป็นคลิปหลอก ใช้เทคนิคการตัดต่อ ซึ่งโทรศัพท์มือถือต้องชาร์จด้วยไฟฟ้า ยกเว้นรุ่นใหม่ๆ ที่สามารถชาร์จไร้สายได้ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับเท่านั้น สำหรับคลิปที่กำลังแชร์กัน อย่าหลงเชื่อหรือทำตามเด็ดขาด
ที่มา ไทยรัฐ
Share it:

โซเชียลแซร์

IT TECH

Post A Comment:

1 comments: